นาซ่าไขปริศนาแสงกระพริบบนโลก แก้ปัญหาคาใจกว่า 24 ปี

  • 7 years ago
นาซ่าไขปริศนาแสงกระพริบบนโลก แก้ปัญหาคาใจกว่า 24 ปี
SPACE — นักดาราศาสตร์คาร์ล เซเกน ได้สังเกตเห็นการกระพริบของแสงปริศนาบนโลกครั้งแรกเมื่อปี 1993 แต่ความลึกลับดังกล่าวไม่ได้ถูกไขให้กระจ่างจน 24 ปีให้หลัง


กล้องโทรทรรศน์ Earth Polychromatic Imaging Camera ของนาซาที่ตั้งอยู่ในหอดูดาวของ Deep Space หรือ DSCOVR ซึ่งอยู่ห่างจากโลกประมาณหนึ่งล้านไมล์ ได้ตรวจจับแสงสะท้อนซึ่งปรากฏอยู่เหนือพื้นดินและน้ำ จากพื้นผิวของโลก


นักวิจัยพบว่าการกระพริบ 866 ครั้งในภาพที่ถ่ายจากยานอวกาศ DSCOVR ระหว่างเดือนมิถุนายน 2015 ถึงเดือนสิงหาคมปี 2016 และตั้งทฤษฎีว่าอาจมีต้นเหตุมาจากแสงสะท้อนของแดด


ภายใต้กฎของการสะท้อนแสง การปล่อยแสงจะเกิดขึ้นเฉพาะจุด ดังนั้น การทำมุมระหว่างดวงอาทิตย์และโลกควรจะเท่ากับการทำมุมระหว่างโลกกับยานอวกาศเพื่อให้สามารถรับแสงสะท้อนได้


แสงกระพริบถูกระบุว่ามีตำแหน่งทำมุมพอดี

นักวิจัยได้ค้นพบว่าแหล่งที่มาของการสะท้อนดูเหมือนจะเป็นผลึกน้ำแข็งในเมฆที่อยู่ในระดับสูง แสงแดดจะสะท้อนออกจากอนุภาคในแนวนอนและเกิดเป็นแสงสว่างจ้า


เมื่อไขปริศนาได้แล้ว นักวิจัยจึงวางแผนศึกษาผลึกน้ำแข็งดังกล่าว เพื่อพิจารณาว่าจะมีผลกระทบต่อปริมาณแสงที่ไหลผ่านชั้นบรรยากาศหรือไม่

Recommended